ครั้งนี้มาเจาะลึกให้มากขึ้นนะครับ
เหมือนเดิมคือ ผมไม่ได้มีส่วนได้เสียอะไรจากหุ้นเหล่านี้ และถ้าอ่านดีๆจะเห็นว่าผมเขียนข้อดีข้อเสียเอาไว้ครบถ้วน เพียงแต่ให้ข้อมูลนะครับ ไม่ได้เชียร์ซื้อเชียร์ขาย
Nok&aav
อุตสาหกรรมของ nok&aav เรียกว่า lcc หรือสายการบินต้นทุนต่ำซึ่งเป็นคนละตลาดกับการบินไทย ตลาดของการบินไทยเรียกว่าสายการบินดั้งเดิมหรือสายการบินเต็มรูปแบบ ซึ่งเป็นตลาดที่โตน้อย Bangkok airways ที่จะเข้าตลาดต่อไปก็เป็นสายการบินดั้งเดิมซึ่งเป็นคนละตลาดกับ lcc Bangkok airways เป็นธุรกิจของหมอ ประเสริฐ ประสาททองโอสถ เจ้าของ bgh ถ้าใครไปดูหนังที่พารากอน โรง 1-3 บางกอกแอร์เวย์เป็น sponsor ให้เมเจอร์โรง 4 พาวาลัย bgh เป็น sponsor ส่วนโรง 5 4dx ais เป็น sponsor เลิกนอกเรื่องกลับมาคุยธุรกิจต่อ lcc นั้นโตกว่าสายการบินดั้งเดิมเกือบ 3 เท่าในรอบ 5-6 ปีมานี้ เป็นเพราะว่าคนจะเดินทางไกลใช้รถไฟกับ lcc เสียเงินไม่ต่างกันมาก แต่เสียสุขภาพต่างกันมาก 6 ปีก่อนผมเคยนั่งรถไฟไปเชียงใหม่ ทรมานมาก นอนไม่หลับเพราะหลับไปแป๊ปเดียวรถไฟสะเทือนฉึกๆฉักๆ ก็ต้องตื่นแล้ว ห้องในรถไฟก็แคบมากๆจำได้ว่าขาไปนั่งรถไฟขากลับนั่งเครื่องบินและก็ไม่เคยนั่งรถไฟอีกเลย ไหนจะเรื่องเวลาที่ไม่ต้องมานั่งๆนอนๆเป็น 10 ชั่วโมงบนรถไฟ นั่งเครื่องเลยดีกว่า 50 นาทีถึงเพราะแบบนี้ธุรกิจ low cost ที่เติบโตสูง ธุรกิจ low cost นั้นเดินทางใกล้แม้ที่นั่งจะแคบก็ทนไม่นาน เมื่อเปิด aec ธุรกิจ lcc เป็นหนึ่งในธุรกิจที่จะได้ประโยชน์เยอะ ในปลายปีที่แล้ว aot ได้ให้ lcc ไปใช้สนาบบินดอกเมือง โดยมี discount incentive ให้ทำให้ nok&aav ได้ประโยชน์จากต้นทุนที่ลดลง แต่ส่วนลดนี้สิ้นสุดปี 2015 ถ้าอยากรู้ว่าบริษัทจะได้ประโบชน์มากน้อยแค่ไหนก็สามารถคำนวณโดยดูว่า landing เป็นกี่%ของ cost แล้วดูว่าปีนั้นๆ aot discount ให้เท่าไหร่ก็จะสามารถคำนวณต้นทุนที่ประหยัดได้(%ส่วนลดน้อยลงเรื่อย)นอกจากนี้สนามบินดอกเมืองยังเพิ่งใช้เพียงแค่ 1 terminal แต่มีอาคารโดยสารทั้งหมด 3 terminal จึงยังมี room อีกมากในแง่ของ utilization นั้น nok air ทำได้มากสุดคือมี cabin factor ระดับ 87-88% aav 80-82% การบินไทยต่ำกว่าสองสายการบินนี้ ในเรื่องของ air hostess นกชนะเลิศ เดินมาทีนึกว่านางงามไม่แปลกเลยที่พวกผู้ชายชอบนั่งนกแอร์
ความแตกต่างของ nok&aav คือ aav ต้นทุนถูกกว่า nok เพราะบริษัทแม่มีขนาดใหญ่ทำให้เกิด eos ได้มากกว่า (aav ถือ tta 55% aaiถือ 45%) แต่ถ้าดูจาก passenger yield nok air ทำได้สูงกว่า aav พอควร ในด้านการ growth ทั้งสองบริษัทมีแผนจะเพิ่มเครื่องบินจำนวนมากทั้งคู่แต่ดูจากสัดส่วนแล้ว nok air มีการเพิ่มของที่นั่งสูงกว่า จุดที่ควรระวังของ nok คือ เส้นทางการบินที่ nok จะเปิดเพิ่มจะเปิดในประเทศเพื่อนบ้านโดยเริ่มจากพม่าโดยส่วนตัวผมคิดว่า cabin factor ของ nok จะลดลงเพราะว่า nok air เป็น local brand ชาวต่างชาติคงไม่ใช่บริการมากนักและจริงๆแล้ว nok อยู่ในไทยมีความได้เปรียบคือ เส้นทางการบินรองและย่อยไม่ม่คู่แข่งเลย เช่น สกลนคร,เลย,พิษณูโลก,น่าน,แพร่,ร้อยเอ็ด เส้นทางพวกนี้ใครอยากไปก็ต้องนกแอร์เท่านั้น แต่เมื่อนกจะไป ประเทศเพื่อนบ้าน นกจะเสียเปรียบ aav เพราะ nok ต้นทุนสูงกว่า และ brand air asia เป็นที่รู้จักในภูมิภาคมากกว่า แถมการออกไปประเทศเพื่อนบินก็มีโอกาสต้องแข่งขันกับสายการบินดั้งเดิมด้วย นอกจากนี้ถ้าออกนอกประเทศไปถึง จีน เวียดนาม ที่ต้องนั่งเครื่องนานๆ คนก็จะรู้สึกทรมานมากขึ้นที่ต้องนั่งแคบๆเป็นเวลาหลายชั่วโมง ต่างจากบินในประเทศถึงจะแคบก็ทนนั่งแค่ 50 นาที ดังนั้นการ growth ของ nok ต่อจากนี้ไม่ง่ายแน่ๆ เครื่องบินลำใหม่ๆ utilization จะลดลงในด้านผลประกอบการณ์ aav ปีที่แล้วต้องหักรายการกำไรจากมูลค่ายุติธรรมของ 14676 ในปีที่แล้วออกเพื่อดู growth ที่แท้จริง ดูจากงบ 9 เดือนที่ออกมาปีนี้ aav น่าจะกำไรแถวๆ 1300-1350 ล้าน ส่วนของ nok air ในปี2555 นกแอร์มีค่าใช้จ่ายซ่อมบำรุงเพื่อส่งเครื่องบินคืน 247mb ซึ่งเป็นค่าใช้จ่าย one time ทำให้ฐานกำไรปีที่แล้วต่ำเกินจริง นักลงทุนควร adjust รายการนี้ในการทำ forecast ด้วย
ทั้ง nok&aav มีความเสี่ยงเรื่องราคาน้ำมันทั้งคู่ aav มต้นทุนน้ำมันประมาณ 43-45% nok 33-38% ถ้าดู npm ของทั้งสองบริษัทต้องบอกว่าราคาน้ำมันขึ้นเยอะๆกระอักแน่ มีโบรกทำประมาณการไว้ว่าราคาน้ำมัน 184 เหรียญ aav จะขาดทุน ซึ่งราคาน้ำมันเป็นสิ่งที่ aav และ nok ควบคุมไม่ได้ เรื่องปันผลนั้นไม่ต้องหวังเลย aav ไม่มีปันผลส่วน nok ปันผลไม่ต่ำกว่า 25% ของกำไรใครหวังปันผลเยอะๆสามารถมองข้ามหุ้นกลุ่มนี้ไปได้เลย แม้ธุรกิจ lcc จะเติบโตสูงแต่ก็เป็นธุรกิจ red ocean สายการบินที่จะรุกไทยอย่าง เวียดเจ็ต,thai lion air ซึ่งก็คงสร้งการแข่งขันรุนแรงมากขึ้นในตลาด lcc ดังนั้น 2-3 ปีจากนี้เป็นไปได้ที่ nok&aav จะเริ่มเสียส่วนแบ่งตลาดหรือไม่ก็ต้องลดค่าตั๊วสู้
Ptg ธุรกิจคือปั้มน้ำมัน pt รูปแบบธุรกิจของ ptg แตกต่างจาก ptt,bcp,susco นลทในกรุงเทพส่วนใหญ่จะไม่คุ้นเคยกับ ptg มากนัก เพราะปั้มส่วนใหญ่เขาอยู่ตามต่างจังหวัดแนะเน้นลูกค้าพวกรถบรรทุกซึ่งต่างจากพวก ptt,bcp ในด้านตัวหุ้นเทียบธุรกิจกันไม่ได้คนละอย่างเลย เพราะ ptt เป็น holding ที่มีสัดส่วนกำไรส่วนใหญ่มาจาก pttep ซึ่งเป็นธุรกิจสำรวจและขุดเจาะ ส่วน bcp กำไรหลักๆมาจากโรงกลั่นไม่ใช่ปั้มน้ำมัน ส่วน susco นั้น แทบจะไม่เพิ่มสาขาเลย เน้นส่งออกน้ำมันไปประเทศเพื่อนบ้าน ทั้ง susco และ ptg ต่างซื้อน้ำมันจาด top มีนักลงทุนกังวลว่า ptg สั่งน้ำมันจาก top เจ้าเดียวเป็นความเสี่ยงที่สูง เรื่องนี้ทางผู้บริหารชี้แจงว่าจริงๆแล้วมีคนมาเสนอขายน้ำมันให้ ptg หลายเจ้าและ top ขายน้ำมันให้ ptg ก็ได้ราคาสูงกว่าส่งออก ผมคิดว่าประเด็นนี้ดูมีความเสี่ยงน้ำกว่าพวกหุ้นอิเล็กทรอนิกที่มีลูกค้าไม่กี่รายแล้วลูกค้าเลิกสั่ง แต่ก็คงจะแน่ใจไม่ได้ว่าบริษัทจะไม่มีผลกระทบเลยถ้า top ไม่ได้ขายให้ รายได้ของ ptg โตเร็วมากเพราะยอดขายปั้มเดิมเพิ่มขึ้นและมีการขยายปั้มเยอะ ptg จึงจัดเป็นหุ้นเติบโต ptg มีความสามารถในการบริหารจัดการที่ดีเพราะ ปั้มทั่วไปต้องขายน้ำมันเดือนละ 300000 ลิตรถึงจะ break even แต่ ptg ขายแค่ 170000 ก็มีกำไรแล้ว ptg นั้นมีแผนลดต้นทุนโดยการใช้ลด trailer แทนลดสิบล้อและการที่ pt มี แท้งเก็บน้ำมันเป็นของตัวเองทำให้ง่ายต่อาการบริหารจัดการดังนั้นปั้มหลายแห่งที่มีมีรถขนส่งและแท้งคงจะคุมต้นทุนได้ยากนี้คงเป็นเหตุผลที่ไม่ค่อยมีปั้มอื่นใช้กลยุทธ์แบบนี้นอกจากนี้บริษัทยังมี cash cycle ติดลบโดยหลายปีก่อนมี day inventory ถึง 17 วันและลดลงมาเหลือเพียง 6 วัน โดยบริษัทมีเป้าหมายว่าภายใน 5 ปีข้างหน้าจะมีจำนวนปั้มแซง บางจากแต่ธุรกิจนี้มี margin บางมาก npm เพียง1%เท่านั้น ถ้ามีข้อผิดพลาดอะไรเกิดขึ้นก็ขาดทุนได้ง่าย ธุรกิจที่ npm บางๆแบบนี้ทำให้ผมนึกถึง sis ที่หลายปีก่อนเพิ่ม npm ได้นิดเดียวกำไรก็กระโดดแต่พอมีอะไรผิดคาด sis ก็ถึงกับขาดทุนเลย ดังนั้นหุ้นที่ npm ต่ำมากๆนลทจะต้องมั่นใจในความสามารถของผู้บริหารมากว่าเก่งงในเรื่องการมองตลาด การควบคุมต้นทุนและค่าใช้จ่าย
ในงบไตรมาสสาม ptg มีรายได้โต yoy 10% แต่มีค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารโต 40% ทำให้หลายโบรกออกมาลดประมาณการกำไรในปีนี้และปีหน้ากัน จริงๆแล้วงบไตรมาสสามจะเป็น low season ของทุกปีอยู่แล้วจึงไม่น่ากังวลมาก แต่จุดที่ผมว่าเป็นประเด็นคือ ยอดขาย q3/13 หดตัว qoq เยอะไปหน่อยคือเกือบ 20% ถ้าเทียบกับq355,q255 แล้วดรอปเพียง 6% เท่านั้นและการที่ยอดขายเติบโตเพียง 10% yoy ทั้งๆที่สาขาแบบ coco ใน q3 55 มีเพียง 357 q356 มี 514 คือมากขึ้นเกือบ 44% สรุปแล้ว ptg เป็นหุ้นเติบโตผู้บริหารเก่งพอควรแต่อยู่ในอุตสาหกรรมที่กำไรบางมากใครทำก็ไม่ค่อยจะกำไร ptg จึงพยายามไปเจาะตลาดที่ไม่ค่อยมีรายอื่นสนใจ ซึ่งถือว่าทำได้ผลสำเร็จ และยังมี room ในการโตอีกมากคือการไปกินแชร์ปั้มน้ำมันอิสระที่มีอยู่กว่า 16000 แห่ง แต่ ptg เป็นหุ้นที่มี npm ต่ำมาก เพิ่งเข้ามา ipo ได้ไม่นานก็โดนหลายโบรกปรับลดประมาณการ ถ้าดูตัวเลขประมาณการของโบรกก่อน ptg เข้าตลาด คาดกำไรปีนี้ระดับ 630-680 ล้านแต่ตอนนี้โบรกออกมาปรับลดเป้ากำไรเหลือ 400 ล้านแล้ว หลังจากประกาสงบไตรมาสสามที่ต่ำคาด
Mc
Mc เป็นบริษัทขายกางเกงยีนญี่ห่อ mc มี market share อันดัน 1 ของไทยโดยมีแชร์ 38% รองลงมาคือ levis ซึ่งเมื่อ 10 ปีก่อน levis เคยมี market share เท่า mc ตอนนี้คือ 38% แต่ตอนนี้เหลือส่วนแบ่ง 27.5% mc เป็นหุ้นที่มี gross margin สูงถึง 58% มีเพื่อนนักลงทุนมาแชร์ว่า gpm ระดับนี้เป็นธรรมชาติของธุรกิจนี้ผมเลยลองไปหาข้อมูลเพิ่มพบว่าตอนปี 2010 mc เคยมี gpm 41%แล้วเพิ่มมาเป็น 48% ในปี 2011 และกลายเป็น 56-58% ในปีนี้ส่วนนึงเป็นเพราะการเพิ่มกำลังการผลิตจาก 71% มาเป็น 95% และมีการปรับปรุงสายการผลิตด้วย lean system และคนยังหันมานิยมกางเกงที่ใช้เนื้อผ้าน้อยลง เช่น ขาเดฟ แต่บริษัทขายสินค้าราคาเดิมทำให้กำไรดีขึ้น ถ้ากำลังผลิตยังอยู่ในระดับนี้ gpm ก็มีโอกาส maintain ได้ gpm 58% นั้นไม่ได้บ่งบอกว่า mc เป็นบริษัทที่เก่งเพราะ gpm zara,h&m เยอะกว่านี้ แต่ตัวเลขที่บอกว่า mc เก่งคือ ebitda margin ที่33% ตัวเลขนี้บ่งบอกได้ว่าบริษัทควบคุมค่าใช้จ่ายได้ดีจนมี ebitda margin สูงกว่า zara,h&m สาเหตุที่ไม่ใช่ npm เป็นตัวบอกคุณภาพเพราะ mc มี boi และเสียภาษีไม่เท่าเจ้าอื่นจึงใช้ ebitda margin เป็นตัวขจัดความต่างของ tax ออก
ยอดขายก่อนเข้าตลาดของ mc โตน่าประทับใจมากคือ โตจาก 1305 ไป 1817 ไป 2564 หรือเพิ่มเกือบเท่าตัวในเวลาเพียง 2 ปี โตทบต้นปีละเกือบ 40% จริงๆบริษัทก็ไม่ได้ขยายสาขาเยอะเท่าไหร่นัก จาก 405 สาขาเป็น 511 เพิ่มประมาณ 25% สิ่งที่ทำให้ยอดขายของบริษัทโตกระโดดจริงๆคือ sale per store ที่เพิ่มจาก 3.92 เป็น 6.14 ตัวเลขนี้ก็คล้ายๆกับ same store sale ของค้าปลีก พวกค้าปลีกขนาดใหญ่ sss โต 4-6% ก็หรูแล้วแต่ mc มีฐานเล็กจึงโตได้มากกว่า คนกรุงเทพที่ชอบไปเดินแต่ ctw ,paragon,emporium คงไม่ค่อยเห็นสาขาของ mc มากนักเพราะ 80% ของยอดขายมาจากต่างจังหวัด ในด้านผู้บริหารผมค่อนข้างชอบผู้บริหาร คือ คุณปรารถนา ผมคิดว่าคุณปรารถนาทำให้ pe ของ mc สูงขึ้นเนื่องจากการให้ข้อมูลที่ละเอียดตอนตลาดตกรอบก่อน mc ลงไปเหลือ 9 บากกว่าแต่สามารถกลับมาที่ราคา ipo ได้อย่างรวดเร็ว ทั้งๆที่งบไตรมาสสามค่อนข้างจะโตน้อย ผมคิดว่าคงเป็นเพราะ mc ไป roadshow ที่ญี่ปุ่น ถ้าดูเวลาคุณปราถนาออก oppday จะรู้สึกได้ว่าคุณปรารถนารู้ว่านักลงทุนอยากฟังอะไรและ concern เรื่องไหน ทำให้ข้อมูลที่นำมาพูด นักลงทุนก็สามารถ clear ประเด็นข้อข้องใจได้ mc เป็นบริษัทที่มี market share สูง
แต่จุดที่น่ากลัวของ mc ก็มีมากเช่นกัน เรื่องแรกคือสาขาของ mc 62% ในตอนนี้ยังขายผ่าน modern trade ถามว่าเสี่ยงยังไง ก็คือ mc อาจโดนยกเลิกคำสั่งซื้อแล้ว modern trade ก็มาเปิดร้านขายเอง ซึ่งเรื่องนี้เคยเกิดขึ้นมาแล้วช่วงไตรมาสสาม โดยมี hyper market เจ้านึงเลิกสั่ง(แต่ตอนนี้กลับมาสนั่งแล้ว) ถ้าเกิดวันใดมีเหตุการณ์ลักษณะนี้เกิดขึ้นอีก บริษัทก็จะสูญเสียรายได้และกำไร บริษัทพยายามแก้เรื่องนี้โดยการเพิ่ม pos หรือจุดขายของบริษัทเองให้มากขึ้น หลายคนอาจสงสัยว่าทำไม mc pe ต่ำกว่าหุ้นค้าปลีกตัวอื่นๆ ผมเดาว่าเป็นเพราะอำนาจต่อรองของ mc ต่ำ เช่นสมมุติผมเปรียบเทียบกับ bigc,makro,cpall ธุรกิจพวกนี้มีค่าแรกเข้าที่จะเข้าไปขายของสามารถเก็บเงินจากของที่ต้องการวางในตำแหน่งที่ลูกค้ามองเห็นง่าย ก็คือบีบ supplier ได้แต่ mc ต้นทุนในการผลิตผ้าหลักๆคือ cotton เป็นราคาตลาดโลก ส่วนช่องทางการขายประมาณ 2ใน 3 ก็อยู่ที่พวก modern trade ถ้า mc มีอำนาจกับคู่ค้าจริงคงไม่เพิ่งโดน hyper market เลิกสั่งของไปหรอก เหตุการณ์แบบนี้อาจเกิดขึ้นอีกก็ได้ จริงๆแล้ว mc ไม่ค่อยเป็นหุ้นค้าปลีกพันธ์แท้เท่าไหร่ ดูแล้วเป็นลูกผสมระหว่างหุ้นค้าปลีกกับโรงงานผลิต จะเห็นได้ว่า gpm ของ mc กระโดดขึ้นมาเพราะปรับปรุงการผลิตนี้เอง เรื่องต่อมาที่เป็นความเสี่ยงคือ การรุกของแบรนต่างชาติ เช่น ยูนิโคโล่ ที่เปิดสาขามากกว่า 10 แห่งแล้วและมีแผนจะเพิ่มให้ถึง 100 สาขาในไทยล่าสุดก็มาเปิดแถวบ้านผมคือ central rama 2 เปิดวันแรกคนต่อแถวกันยาวน่าดูยังกับแจกฟรี และเป็นแบบนี้เกือบทุกสาขาที่เปิด การที่คนแห่กันไปยืนต่อแถวเต็มร้านถึงแม้จะแค่ไม่กี่วันแรกก็สะท้อนได้ว่าคนไทยนิยมของนอกมากกว่าจริงๆ รู้สึกใส่แลล้วภูมิใจที่สำคัญราคาสินค้าก็พอๆกับ mc ด้วย สาขาแรกๆที่ยูนิโคโล่เปิดคงไม่กระเทือนยอดขายของ mc เท่าไหร่ เพราะ mc ไม่มีร้านอยู่ใน ctw,paragon แต่สาขาหลังๆคงกระทบมากขึ้น เช่น mc มีสาขาที่ bigc พระราม2 พอยูนิโคโล่มาเปิดเซ็นทรัลพระราม 2 ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับ mc ก็จะเริ่มส่งผลกระทบได้ ผมคิดว่าในระยะยาวนักลงทุนของติดตามเรื่องนี้ดีๆเพราะผมว่ายูนิโคโล่ดูเป็นคู่แข่งที่เหนือชั้นกว่า mc ถ้าเขารุกจริงจังแล้ว mc แก้ทางไม่ได้คงกระทบพอสมควร ประเด็นต่อมาคือ ตัวเลข same store sale ที่เคยเติบโตอย่างมากในสองปีที่ผ่านมาก็ติดลบใน q2 และ q3 โดยติดลบที่ 8%และ3%ตามลำดับ สะท้อนว่า mc เป็นหุ้นที่อ่อนไหวกับสภาวะเศรษฐกิจมากพอควร ไม่ได้ทนแดดทนลมเหมือนหุ้นค้าปลีกอื่นๆนี้ก็คงเป็นอีกเหตุผลที่ pe ต่ำกว่ากลุ่มค้าปลีก mc เป็นหุ้นที่ลุ้นการเติบโตของยอดขายได้จากสาขาใหม่ก็จริงแต่ยอด sss ยังดูเป็นประเด็นที่น่าห่วงบางท่านที่จำคาดการณ์ growth อาจจะคำนวณว่า ปลายปีนี้ mc มีสาขา 600 แห่งและมีแผนการขยายสาขาปีละ 100 สาขาซึ่งก็คือการเติบโตปีละ 15% ซึ่งก็ถือว่ายังโตใช้ได้แต่ความเป็นจริงคงไม่ใช่เพราะสาขาที่จะขยายเป็นทำเลเกรด b c คงเทียบเป็นบรรยัติไตรยางค์กับสาขาเดิมๆไม่ได้ และถ้า sss ไม่โต npm จะลดลงเพราะค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าคนงานเพิ่มแต่ยอดขายเท่าเดิม ในแง่ market share สูงถึงเกือบ 40% ถ้าจะเพิ่มได้อีกคงไม่มากนักกลัวแต่จะโดนแย่งมากกว่า ส่วน gpmและ npm น่าจะ maintain ได้ถ้าราคาฝ้ายไม่แกว่งรุนแรงมาก(ต้นทุนผลิตยีน)และ sssโตกว่าเงินเฟ้อ แต่คงจะเพิ่ม gpm npm จากระดับนี้ได้ยากหน่อย สรุปว่า mc เป็นหุ้นที่มีแผนการเติบโตที่ชัดเจน มีฐานะทางการเงินใช้ได้ แต่มีความเสี่ยงเรื่องคู่แข่งที่สูง